วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหาร
1.  คุณธรรม (Moral / Virtue)
ความหมายและความสำคัญของคุณธรรม
ความหมายของคำ ว่าคุณธรรมนี้ มีนักการศึกษาหลายท่าน ได้เสนอแนวคิดซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ได้แก่
 คุณธรรม  คือ  คุณ + ธรรมะ    คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม  ซึ่งรวมสรุปว่าคือ  สภาพคุณงาม ความดี
คุณธรรม หมายถึง หลักการความดีงามแห่งความประพฤติตน และลักษณะของอุปนิสัยอันดีงามที่สนใจของบุคคล มีคุณค่า ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ยึดถือและปฏิบัติตาม เพื่อความเจริญของตนและสังคม เป็นที่ยอมรับของสังคมและบุคคลทั่วไป ซึ่งคุณธรรมนี้เกิดจากการปลูกฝังโดยการได้เห็น ได้ฟัง ได้อ่าน และที่สำ คัญที่สุดคือ การได้เห็นพฤติกรรมที่แสดงออกทางคุณธรรมของผู้ที่เคารพรักเป็นตัวอย่าง (สุกัญญา ศรีเมืองชน 2533 : 36)
การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่นักศึกษา
      สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทยเราในปัจจุบันนี้  ดูน่าเป็นห่วง   อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ   ปัญหาความเสื่อมถอยในด้าน คุณธรรม  จริยธรรมของคน ทั้งในระดับนักการเมือง  ข้าราชการ  หรือ คนในแวดวงอาชีพอื่นๆ  ภาพที่เห็นชัดเจนและเป็นข่าวอยู่ทุกวัน ก็คือ  การทุจริตคอรัปชั่น  การก่ออาชญากรรม   การเสพและการค้ายาเสพติด  ซึ่ง แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนไทย  ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึง อุดมศึกษา  รวมถึงการแต่งกายล่อแหลม ที่เป็นมูลเหตุก่อให้เกิดอาชญากรรม ทางเพศ ของนักศึกษาหญิง   การขายบริการทางเพศของนักศึกษา   การที่นักศึกษาอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา  การทะเลาะวิวาทของนักศึกษาทั้งภายในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบัน  เหล่านี้เป็นต้น
คุณธรรม จริยธรรม
  ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม คำว่าจริยธรรม ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Morality ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
โชติ เพชรชื่น (2524 : 23) กล่าวว่าจริยธรรม ก็คือ จริยะแปลว่าความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมคือ ความดี เมื่อรวมความหมายของสองคำเข้าด้วยกันคือ ความประพฤติดี กรมวิชาการ (2524 : 3-4) ไดให้ความหมายจริยธรรมว่าเป็นแนวทางของการประพฤติชอบทั้งกาย วาจา และใจ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
     กระทรวงศึกษาธิการ (2548 : 2) ให้ความหมายคูณธรรมไว้ว่า สิ่งที่บุคคลส่วนใหญ่ยอมรับว่าดีงาม ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์ และความดีงามที่ดีที่แท้จริงต่อสังคม