วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหาร
1.  คุณธรรม (Moral / Virtue)
ความหมายและความสำคัญของคุณธรรม
ความหมายของคำ ว่าคุณธรรมนี้ มีนักการศึกษาหลายท่าน ได้เสนอแนวคิดซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ได้แก่
 คุณธรรม  คือ  คุณ + ธรรมะ    คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม  ซึ่งรวมสรุปว่าคือ  สภาพคุณงาม ความดี
คุณธรรม หมายถึง หลักการความดีงามแห่งความประพฤติตน และลักษณะของอุปนิสัยอันดีงามที่สนใจของบุคคล มีคุณค่า ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ยึดถือและปฏิบัติตาม เพื่อความเจริญของตนและสังคม เป็นที่ยอมรับของสังคมและบุคคลทั่วไป ซึ่งคุณธรรมนี้เกิดจากการปลูกฝังโดยการได้เห็น ได้ฟัง ได้อ่าน และที่สำ คัญที่สุดคือ การได้เห็นพฤติกรรมที่แสดงออกทางคุณธรรมของผู้ที่เคารพรักเป็นตัวอย่าง (สุกัญญา ศรีเมืองชน 2533 : 36)
ประภาศรี สีหอำ ไพ (2535 : 43) กล่าวว่า คุณธรรม คือ หลักธรรมที่สร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในทางศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม มีหลักปรัชญาเดียวกัน คือ เป็นหลักปฏิบัติคุณงามความดี คุณธรรมที่ว่านี้มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องความดี ความสุข และการกำหนดคุณค่าของคุณธรรม
พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถาน (2530 : 190)  ให้ความหมายของคุณธรรม ว่า คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงาม ความดี หรือหน้าที่อันพึงมีอยู่ในตัว
คุณธรรม หมายถึง  คุณลักษณะที่เป็นความดี   ความงามที่มีอยู่ในจิตใจของแต่ละบุคคล  โดยได้ยึดถือปฏิบัติจนเป็นนิสัย  และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามของบุคคลทั่วไป   (ยนต์  ชุ่มจิต, 2524)
คุณธรรม   หมายถึง   คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ   โดยมีเป้าหมายว่าเป็นการกระทำดี  หรือเป็นพฤติกรรมที่ดี   ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม   เช่น   ความเสียสละ   ความมีน้ำใจงาม  ความเกรงใจ  ความยุติธรรม  ความรักเด็กและเพื่อนมนุษย์  และความเห็นอกเห็นใจคนอื่น  เป็นต้น  (สงวน   สุทธิเลิศอรุณ, 252)
คุณธรรม  คือ  จิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล  ศาสนาและอุดมการณ์เป็นดวงวิญญาณของปัจเจกบุคคลและสังคมด้วย  ปัจเจกบุคคลต้องมีวิญญาณ  สังคมต้องมีจิตวิญญาณ  คุณธรรมของปัจเจกบุคคลอยู่ที่การกล่อมเกลา เรียนรู้โดยพ่อ แม่  สถาบันการศึกษา  ศาสนา  พรรคการเมืองและองค์กรของรัฐ (ลิขิต  ธีรเวคิน, 2548 )
คุณธรรม  หมายถึง คุณลักษณะหรือสภาวะภายในจิตใจของมนุษย์ที่เป็นไปในทางที่ถูกต้อง  ดีงาม ซึ่งเป็นภาวะนามธรรมอยู่ในจิตใจ (รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา  แขมมณี, 2546 : 4)
คุณธรรม หมายถึง ความดี ความงาม ความซื่อสัตย์ ความพอดี ความอดทน ขยันหมั่นเพียร (สัญญา  สัญญาวิวัฒน์(2527 : 387)
คาร์เตอร์ กู๊ด (Good 1973 : 208) ได้ให้ความหมายของคุณธรรม เป็น 2   ประการ
ความหมายแรก     คือ ความดีงามของลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมที่ได้กระทำ ตามมาเป็นความเคยชิน
 ความหมายที่สอง คือ คุณภาพของบุคคลที่ได้กระทำ ตามความคิดและมาตรฐานของสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักศีลธรรม
โลว์ (Lowe 1976 : 92) ให้ความหมาย เพิ่มเติมว่าคุณธรรม หมายถึง สิ่งที่สังคมยึดถือเป็นข้ออ้างอิง
นอกจากนี้ นักการศึกษาไทยได้ให้ความหมายของคำ ว่าคุณธรรม ไว้สอดคล้องกันสามารถนำ มาประมวลได้ คือ
คุณธรรม หมายถึง หลักการความดีงามแห่งความประพฤติตน และลักษณะของอุปนิสัยอันดีงามที่สนใจของบุคคล มีคุณค่า ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ยึดถือและปฏิบัติตาม เพื่อความเจริญของตนและสังคม เป็นที่ยอมรับของสังคมและบุคคลทั่วไป ซึ่งคุณธรรมนี้เกิดจากการปลูกฝังโดยการได้เห็น ได้ฟัง ได้อ่าน และที่สำ คัญที่สุดคือ การได้เห็นพฤติกรรมที่แสดงออกทางคุณธรรมของผู้ที่เคารพรักเป็นตัวอย่าง (สุกัญญา ศรีเมืองชน 2533 : 36)
ประภาศรี สีหอำ ไพ (2535 : 43) กล่าวว่า คุณธรรม คือ หลักธรรมที่สร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในทางศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม มีหลักปรัชญาเดียวกัน คือ เป็นหลักปฏิบัติคุณงามความดี คุณธรรมที่ว่านี้มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องความดี ความสุข และการกำหนดคุณค่าของคุณธรรม
จึงอาจสรุป ความหมายของคุณธรรม คือ หลักความประพฤติที่เป็นลักษณะนิสัยที่ดีงาม ได้รับการสั่งสมหรือปฏิบัติตามกันมาจากจิตใจโดยมิได้ฝืนใจ ผลจากการกระทำ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ยึดถือโดยตรง และส่งผลให้สังคมของการอยู่ร่วมกันมีความสุข และความเจริญงอกงาม    หลักคุณธรรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  สำหรับมนุษย์ที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน เพราะคุณธรรมเป็นหลักแห่งความประพฤติ ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องและ     ดีงาม   มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่คุณงามความดีของสังคมโดยส่วนรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น